ไทยซิตี้โฮสจดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย ทะเบียนพาณิชย์เลขที่ 1459900308268


ส่วนบริการลูกค้า > คู่มือการใช้งาน > ความรู้ทั่วไป > การเลือกซื้อโฮสติ้ง


การเลือกซื้อโฮสติ้ง




แนะนำการเลือกเว็บโฮสติ้ง


ภาษาที่ใช้พัฒนาซึ่งก็อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าภาษาที่ใช้ในการพัฒนานั้นหลักๆ ก็จะมีอยู่ 2 ภาษา คือ PHP กับ ASP ก็ขึ้นอยู่กับความผู้ที่ต้องการใช้งานโฮสนั้นมีความรู้ทางภาษาด้านไหนก็เลือกใช้งานโฮสที่รองรับการทำงานของภาษานั้น- Linux, FreeBSD นั้นจะรองรับการทำงานด้วยภาษา php- Window จะสามารถทำงานด้วยภาษา ASP และ ASP.NETเนื่องจากถ้าโปรแกรมมีปัญหาหรือมีข้อขัดข้องผู้ใช้งานก็สามารถที่จัดการแก้ไข ปรับปรุงเองได้ แต่ในขณะเดียวกันนอกจากภาษา PHP กับ ASP แล้วก็ยังจะมีภาษาอื่นๆ อีกเช่น Java, python, perl หรือ xml 


ปริมาณเนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล โดยในส่วนนี้ผู้ใช้งานก็จะต้องดูรายละเอียดของข้อมูลโฮสแต่ละรายว่าให้ เนื้อที่เท่าไร ซึ่งตรงนี้ผู้ที่ต้องการใช้งานก็จะต้องกำหนดแบบแผนหรือรูปแบบของเว็บก่อนว่า จะเว็บประเภทใดออกมา เว็บนั้นมีเนื้อหาประเภทใด เพื่อที่จะให้ประมาณเนื้อที่ที่ต้องการใช้งานได้และจะได้เลือกปริมาณตามที่ ต้องการจากผู้ให้บริการโฮสได้ 

ฐานข้อมูล ในการทำเว็บไซต์นั้นก็คงจะหนีเรื่องของการเก็บข้อมูลไม่พ้น ซึ่งก็ต้องใช้ฐานข้อมูลและก็จะแตกต่างกันตามประเภทของโฮสที่ใช้งาน โดยถ้าเป็น Linux หรือ FreeBSD ฐานข้อมูลที่นิยมใช้ก็คือ mySQL ส่วนทางฝั่ง Windows ฐานข้อมูลที่นิยมใช้ก็จะเป็น Access หรือ MS SQL ทั้ง นี้ทั้งนั้นก็จะต้องดูฟีเจอร์หรือข้อกำหนดของผู้ให้บริการว่าจะให้ใช้งานแบบ ใด และอีกส่วนหนึ่งที่ต้องทราบก็คือ จำนวนฐานข้อมูลที่สร้างได้ เนื่องจากบางครั้งผู้ใช้งานมีความจำเป็นที่ต้องสร้างฐานข้อมูลมากกว่า 1 ฐานข้อมูลเพื่อที่จะใช้ในการเก็บข้อมูล เพราะโฮสบางรายจะให้สร้างได้เพียง 1 ฐานข้อมูล บางรายให้สร้างได้ 5 ฐานข้อมูล บางรายให้สร้างได้ไม่จำกัด ก็ให้เลือกตามความต้องการใช้งาน 

Data Transfer / Month คือ อัตราในการถ่ายโอนข้อมูลต่อเดือน หรือเรียกอีกอย่างว่าจำนวนข้อมูลที่วิ่งเข้าออกระหว่าเว็บไซต์ของเราและผู้ ใช้งาน ซึ่งส่วนมากก็จะมีหน่วยเป็น GB/เดือนOperating System Platform เป็นรูปแบบของระบบปฏิบัติการที่ตัวโฮสใช้งาน ซึ่งดังที่กล่าวไปแล้วว่าก็จะมีอยู่ 2 ระบบปฏิบัิติการใหญ่ๆ ที่ใช้งานกันก็คือ Windows หรือ Linux (FreeBSD) ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นการบอกตัวระบบการทำงานของโอสด้วย ซึ่งถ้าโฮสที่ใช้ Windows เป็นระบบปฏิบัติการนั่นก็หมายความว่าตัวภาษาที่ใช้งานก็จะเป็น ASP หรือ ASP.Net และ PHP ซึ่งตัว PHP นั้นก็จะเป็นส่วนที่ลงเสริมเข้าไปให้สามารถทำงานได้ ส่วนโฮสที่ใช้ Linux (FreeBSD) เป็นระบบปฏิบัิติการภาษาที่ใช้งานก็จะเป็น PHP ส่วนในเรื่องของฐานข้อมูลนั้น โฮสที่ใช้ Windows เป็นระบบปฏิบัติการสามารถใช้งานฐานข้อมูลได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็น Access, MS SQL, Oracle หรือแม้แต่ MySQL สำหรับรองรับการทำงานของ PHP เป็นต้น ส่วนโฮสที่ใช้ Linux (FreeBSD) ตัวฐานข้อมูลที่นิยมใช้งานมากที่สุดก็จะเป็น MySQL AntiVirus / Spam Filter เป็นส่วนของฟังก์ชันเพิ่มเติมที่จะช่วยป้องกันไวรัสที่จะมาทำลายระบบของเราหรือการ Spam ของ ข้อความที่ไม่พึงประสงค์และเพื่อป้องกันการยิงเว็บไซต์ด้วย ซึ่งส่วนมากแล้วโฮสทุกโฮสก็จะให้อยู่แล้วแต่ประสิทธิภาพในการทำงานและการ หมั่นตรวจสอบดูแลอาจจะไม่เท่ากัน เนื่องจากบ้างครั้งก็จะต้องเฝ้าดูตัวพฤติกรรมของคนเล่นอินเทอร์เน็ตด้วย ว่เข้ามาด้วยจุดประสงค์อะไร มีแพ็คเกจแปลกๆ เข้ามาหรือไม่อันจะเป็นบ่อเกิดให้โฮสของลูกค้า (ผู้เช่า) เกิดความเสียหายได้ 

Backup หรือการสำรองข้อมูล ซึ่งปกติการทำเว็บไซต์นั้นผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องข้อมูลหรือเนื้อหาของเว็บ ก็จะเป็นผู้ที่จัดทำที่จะต้องกระทำด้วยตนเอง แต่ส่วนนี้เรียกว่าเป็นของแถมสำหรับผู้เช่าโฮสดีกว่า ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ให้บริการเช่าโฮสนั้นมีฟีเจอร์นี้หรือไม่ เช่น จะมีการสำรองข้อมูลเก็บไว้ให้ผู้เช่าเป็นกรณีพิเศษ นอกจากการ Backup Time ปกติของเครื่องเซิรฟ์เวอร์ เช่น อาจจะมีการไรท์ลงแผ่น DVD ส่ง มาให้ผู้เช่าทุกๆ เดือน เป็นต้น ซึ่งก็จะเป็นการดีที่ทำให้ผู้ที่ไปเช่ามีความปลอดภัยของข้อมูลในระดับหนึ่ง ซึ่งตรงนี้ถ้ามีก็อาจจะมีการค่าบริการเพิ่มขึ้นก็ให้ผู้เช่าโอสนั้นทำการ ตรวจสอบราคาของผู้ให้บริการแต่ละรายด้วยว่ามากน้อยเพียงใด คุ้มค่าต่อการใช้งานหรือไม่ 

FTP ในการอัพโหลดข้อมูลขึ้นไปยังเว็บไซต์หนทางที่สะดวกที่สุดก็คือการใช้บริการผ่านระบบ FTP เพราะจะทำให้เกิดความรวดเร็วในการทำงานและขนย้ายไฟล์จำนวนมากๆ ได้ดี ถ้าโฮสไหนที่มีบริการอัพโหลดข้อมูลผ่านตัว Browser นั้นบอกได้เลยว่า ไม่ขอแนะนำ เพราะจะทำให้การทำงานนั้นล่าช้าและเกิดความไม่สะดวกเอามากๆ ซึ่งการอัพข้อมูลผ่านระบบ FTP นั้นก็ใช้โปรแกรม FTP Client ทั่วๆ ไปตามแต่ความถนัดของตนเอง เช่น WS-FTP, Cute FTP เป็นต้น File Manager เป็นตัวจัดการไฟล์ผ่านหน้าเว็บ ซึ่งตรงนี้ก็จะคล้ายๆ การใช้โปรแกรม FTP หรือ Windows Explorer แต่จะมีการทำงานผ่านทางเว็บไซต์หรือออนไลน์ (Online) ได้ทันที แต่ในการใช้งานด้วยตัว File Manager นั้น ก็จะต้องมีข้อที่ควรระวังอย่างหนึ่งก็คือ ความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตถ้าเน็ตช้ามากๆ ก็จะทำให้การโอนไฟล์มีปัญหาได้ แต่ไม่ใช่เฉพาะ File Manager เท่านั้นโปรแกรมประเภท FTP ก็มีปัญหา แต่การทำงานบางอย่างจะสะดวกกว่าเพราะโปรแกรม FTP ทำงานที่เครื่องไคส์เอ็นส์ ซึ่งถ้าโฮสมีตัว File Manager มาให้ก็จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกอีกทางหนึ่งด้วย 



Was this answer helpful?

Add to Favourites Add to Favourites    Print this Article Print this Article

บทความอื่น

Powered by WHMCompleteSolution


สงวนลิขสิทธิ์ © 2015 ไทยซิตี้โฮส จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย ทะเบียนพาณิชย์เลขที่ 1459900308268
49 หมู่ 10 ตำบล พระเจ้า อำเภอ เชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ด 45000 | โทรศัพท์ 080-7462326 , 096-8189848 | อีเมล support@thaicityhost.com